welcome วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา 23102 คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม

วีดีโอ

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติรัชกาลที่ 1-9

ประวัติรัชกาลที่ 1-9


                                                     คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king01.jpg
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2327 - 2352)
พระนามเดิม ทองด้วง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระอักษรสุนทรทองดี) ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2378 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ ได้สมรสกับธิดาคหบดีบ้านอัมพวา ตำบลบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในพ.ศ. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ได้กู้อิสรภาพและสร้างกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้เข้ารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงพระปรีชาสามารถในการรบจนเป็นที่โปรดปราน นับเป็นขุนพลคู่พระทัยฝ่ายขวา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพในสงครามครั้งสำคัญหลายครั้ง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึก ใน พ.ศ. 2319
พ.ศ. 2325 เกิดจลาจลขึ้นในบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงปราบปรามจนราบคาบ ข้าราชการทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันอัญเชิญขึ้นปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ต่อมาโปรดให้สร้างราชธานีใหม่ขึ้น ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานคร ทรงย้ายมาประทับในพระนครใหม่ใน พ.ศ. 2327 พระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ในรัชกาลได้แก่การสงครามเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุด คือ สงครามเก้าทัพ ในปี พ.ศ. 2327 การปกครองประเทศทรงจัดแบ่งตามแบบกรุงศรีอยุธยา และโปรดให้ ชำระกฎหมายบทต่างๆ ให้ถูกต้องและจารลงสมุดไว้เป็นหลักฐาน 3 ฉบับ
ทางด้านศาสนา โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามและพระพุทธรูปต่างๆ เป็นอันมาก
ทางด้านวรรณคดีและศิลปกรรม ทรงฟื้นฟูวรรณคดีไทยซึ่งเสื่อมโทรมตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกให้ กลับคืนดีอีกวาระหนื่ง ทรงส่งเสริมและอุปถัมภ์กวีในราชสำนัก บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ เช่น บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น งานทางด้านศิลปกรรมนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้าง พระอารามเป็นจำนวนมาก เป็นการเปิดโอกาสให้ช่างฝีมือด้านต่างๆ มีงานทำและได้ผลิตงานฝีมือชิ้นเอกไว้
ปัจจุบันมีวันที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือ วันที่ระลึกมหาจักรี ได้แก่วันที่ 6 เมษายนของทุกปี จะมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า

                                                                 คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king02.jpg
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2310 - 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระโอรสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอม รินทราบรมราชินี ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เมื่อยังทรง พระเยาว์ ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยในสำนักสมเด็จพระวนรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ ด้านวิชาการรบ สำหรับขัตติยราชกุมารนั้น พระองค์ได้ทรงศึกษาจากประสบการณ์ที่เป็นจริง กล่าวคือได้ทรงตามเสด็จ พระบรมชนกนาถไปในราชการสงครามทุกครั้ง ซึ่งพระปรีชาสามารถและความจัดเจนนี้ย่อมเป็นที่ ประจักษ์ จนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ท่านขึ้นเป็นกรมพรราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชแทน 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระ องค์ที่ 2แห่งพระราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ. 2352 
พระราชกรณียกิจสำคัญ ที่ทรงเริ่มทำเร่งด่วนครั้งแรกคือ การรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่ตั้งแต่ครั้ง กรุงแตกให้อยู่ตั้งมั่นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประเทศ โดยออกพระราชกำหนดสักเลข และ ทำทะเบียนราษฎรอย่างจริงจัง และได้ทรงผ่อนผันการเข้าเดือนเหลือเพียงปีละ 3 เดือน คือ เข้าเดือนออก สามเดือน นอกจากนี้ยังได้ทรงออกกฎหมายฉบับสำคัญอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า พระราชกำหนดเรื่องห้าม สูบฝิ่น ขายฝิ่น
ในการทำนุบำรุงความเจริญของบ้านเมืองก็มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ และได้มีการแต่ง สำเภาไปค้าขายยังเมืองต่างๆ และเมืองจีนมากขึ้น ทำให้การเศรษฐกิจของชาติดีขึ้นมาก และเหตุที่มีการ แต่งเรือสำเภาไปค้าขายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เกิดการใช้ธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำสัญญลักษณ์ช้างเผือกสำคัญที่ได้มาสู่พระบารมี 3 เชือก ประทับลงบนธงสีแดง ธงประจำชาติไทยจึงมีขึ้นเป็นครั้งแรก 
ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุง ตลอดจนทรงเป็นกษัตริย์ศิลปินโดยแท้จริง 
                                                              คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king03.jpg
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 - 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2330 ต่อมาได้รับ สถาปนาพระอิสริยยศ เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระองค์ทรงเริ่มปฏิบัติราชการมาตั้งแต่ ่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ยังดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัตพระราชกรณียกิจ ต่างพระเนตรพระกรรณหลายประการ พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงบำเพ็ญในรัชกาลที่ 2 ได้แก่ ราชการในกรมท่าซึ่งมีหน้าที่ด้านการค้าและสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เงินผลประโยชน์ จากการค้าสำเภาของพระองค์ครั้งนี้ ต่อมาได้นำมาใช้ในภาวะคับขันของบ้านเมือง ด้านการป้องกันพระนคร ได้ทรงเป็นแม่กองอำนวยการสร้างป้อมปราการ ด้านชายทะเลตะวันออก และเป็นแม่ทัพยกไปตีขัดตาทัพพม่า ที่ตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลา 1 ปี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัติใน พ.ศ. 2367 ทรงทำนุบำรุง ประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ โปรดให้ปรับปรุงการค้าขายกับต่างประเทศ และ ระเบียบวิธีการเก็บภาษีอากรต่างๆ ด้านความมั่นคง โปรดให้สร้างป้อมปราการตามหัวเมืองสำคัญและ ตามชายฝั่งทะเล ตลอดจนต่อเรือรบเรือกำปั่นไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการปราบปราม ผู้ก่อความไม่สงบต่อแผ่นดินอย่างเด็ดขาด เป็นต้นว่า การปราบปรามเวียงจันทน์ ญวน และหัวเมืองปักษ์ ใต้ ทั้งยังทรงยกฐานะหมู่บ้านต่างๆ ขึ้นเป็นเมืองเพื่อขยายความเจริญในการปกครอง ด้านศาสนา ทรง บำเพ็ญพระราชกุศลเป็นนิจ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการสอนพระ ปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ และโปรดให้จารึกสรรพตำราต่างๆ 8 หมวดบนแผ่นศิลา ประดับไว้ ณ ศาลาราย ในวัดพระเชตุพนฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน เสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ด้าน วรรณกรรมนั้นทรงเป็นกวีด้วยพระองค์เอง และทรงส่งเสริมผู้มีความรู้ด้านนี้ ส่วนงาน ด้านศิลปกรรม นับ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสร้าง บูรณะปฏิสังขรณ์พระอาราม มีผู้กล่าวว่า ลักษณะศิลปกรรมในรัชกาลที่ 3 เป็นแบบที่งดงามยิ่ง เพราะหลังจากนี้ศิลปกรรมไทยรับอิทธิพลศิลปตะวันตกมากเกินไป
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงสิริราชสมบัติได้ 26 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระชนมายุ 63 พรรษา

                                                                  คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king04.jpg
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411)
ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เมื่อพระชน มายุ 13 พรรษา ประกอบพระราชพิธีโสกันต์อย่างใหญ่ หลังจากนั้นทรงผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาสำหรับกษัตริย์ทั่วไป เช่น การฝึกหัดอาวุธ วิชาคชกรรม พระองค์ทรงสนพระทัย ในการศึกษาภาษาต่างประเทศอย่างมาก เมื่อพระชนม์ครบอุปสมบททรงผนวชอีกครั้ง และการทรงผนวชครั้งนี้ ต้องทรงผนวชอยู่นานตลอดรัชกาลที่ 3 ระหว่างทรงผนวช จำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส ได้ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างชำนิชำนาญ เช่น วิชาการ โหราศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนทรงแตกฉานในพรไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ขณะทรงผนวชทรงพิจารณาเห็นการปฏิบัติสงฆ์หย่อนยาน จึงทรงตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่สงฆ์ที่เคร่งครัดการปฏิบัติต่อไป
ใน พ.ศ. 2344 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งปวง ได้พร้อมกันอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งบรมราชจักรีวงศ์
หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ผู้เริ่มศักราชการ ติดต่อกับนานาอารยประเทศ ทั้งปวงอย่างจริงจัง ดังจะเห็นได้จากการ ที่ประเทศต่างๆ ส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และติดต่อค้าขาย และพระองค์ได้ทรงแต่งคณะทูต ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีตอบแทนหลายครั้ง เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส เดน มาร์ค ฯลฯ ทรงสนับสนุนให้มี การศึกษาศิลปวิทยาการใหม่ๆ เช่น วิชาการต่อเรือใบ เรือกลไฟ เรือรบ การฝึกทหารอย่างยุโรป การยกเลิกธรรมเนียมที่ล้าสมัยบางประการ เช่น ประเพณีการเข้าเฝ้าให้ใส่เสื้อเข้าเฝ้า การให้ประชาชนเฝ้าแหนรับเสด็จตลอดระยะรายทางเสด็จได้ ฯลฯ พระปรีชาสามารถส่วนพระ องค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ วิชาการด้านโหราศาสตร์ และดาราศาสตร์ ทรงสามารถคำนวณระยะเวลา การเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ดังได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระราชอาคันตุกะทั้งปวง ไปชม สุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2411
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเสวยสวรรยราชสมบัติอยู่ 18 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือนสิบเอ็ด ขึ้น 15 ค่ำ จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411) สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา

                                                     คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king05.jpg
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการสงคราม และการปกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัยศึกษาพระธรรมวินัย ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2409 และเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะทรงมี พระชนมพรรษาเพียง 16 ปี โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราช การแทนพระองค์ จนทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2416 เสด็จ ครองราชย์นานถึง 42 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นนักปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศ จากแบบเก่ามาสู่แบบใหม่ ทรงเป็นผู้นำในการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี
ระบบสังคม และ ระบอบการปกครองของไทยให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เช่น ทรงยกเลิกประเพณีการเฝ้าแหนแบบโบราณ มาเป็นการยืนถวายบังคมแบบตะวันตก ทรงยกเลิกการไต่สวนพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาลมาเป็นการไต่สวนพิจารณาคดีในศาลแบบปัจจุบัน ทรงยกเลิกระบบทาสได้อย่างละมุนละม่อม ทรงจัดการศึกษาแผนใหม่ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นทั้งในพระบรมมหาราชวังและตามวัดต่างๆ โปรดให้ ปรับปรุงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น การประปา การรถไฟ และการไปรษณีย์-โทรเลข ทางด้านศาสนา ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองโดย เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้าน มีชวา สิงคโปร์ และอินเดีย เพื่อทรงศึกษาการปกครองแบบตะวันตกที่ นำมาประยุกต์ใช้ในประเทศตะวันออก แล้วทรงปรับปรุงการปกครองของไทยให้ทันสมัย โดยทรงแบ่ง ส่วนราชการการบริหารราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง และแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นมณฑล พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงดำเนินวิเทโศบายอย่างสุขุม คัมภีรภาพ ทรงผ่อนปรน ยอมสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ประเทศมหาอำนาจที่แสวงหาอาณานิคมอยู่ในขณะนั้น เพื่อรักษาเอกราชของประเทศไว้ ทรงเป็นที่รักของประชาชนทุกชั้น จนทรงได้รับพระสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิย มหาราช
ทรงเลิกทาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหฤทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิ คุณแก่พสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงเห็นการณ์ไกล และตระหนักในความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข ของบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะเป็นผลสำเร็จได้ต้องทำให้คนไทยได้เป็นไท ไม่มีทาสอีกต่อไป พระองค์จึงได้ทรงดำเนินการเลิกทาสโดยมิให้กระทบกระเทือนถึงเจ้าของทาสและทาส ด้วยพระราช หฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะอย่างยิ่งเป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จลงตามพระราช ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้
การเสด็จประพาสต้น
เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระทัยในทุกข์สุข ของอาณาประชาราษฎร์คือ การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างง่ายๆ โดยไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองจัดทำที่ประทับแรม เมื่อพอพระราชหฤทัยจะประทับที่ใดก็ประทับที่นั้น บางครั้งก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จโดยสารรถไฟไป โดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ ทำให้ได้ประทับปะปนในหมู่ ราษฎร ทรงทราบทุกข์สุขของราษฎรจากปากราษฎรโดยตรง ทำให้ได้ทรงแก้ไขปัดเป่าความทุกข์ยากให้ ราษฎรของพระองค์ได้ผลโดยตรง

                                                        คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king06.jpg
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 - 2468)
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ทรงศึกษาภาษาไทยอย่างแตกฉาน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2436 ขณะทรงมีพระชนม์พรรษาเพียง 14 ปี ต่อมาทรงเข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (Oxford) เสด็จนิวัติคืนสู่ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2445 รวมเวลาประทับ ณ ประเทศอังกฤษถึง 9 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จครองราชย์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สวรรคต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมสิริราชสมบัติ 16 ปี
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินนโยบายการปกครองสืบต่อจาก สมเด็จพระบรมชนกนาถ ในรัชสมัยของพระองค์ การศึกษาของชาติเจริญก้าวหน้ามาก ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย การพระศาสนาเจริญสูงขึ้น ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และขยายการศึกษาของสงฆ์ให้กว้างขวาง การคมนาคม เช่น การรถไฟ สะดวกสบายขึ้นมาก ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ อย่างถูกต้อง เห็นการณ์ไกล โดยทรงนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งทหารเข้าช่วยฝ่ายสัมพันธ มิตรรบในสมรภูมิยุโรป ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และยังทำให้ประเทศได้รับผลประโยชน์ ด้านต่างๆ ในฐานะประเทศชนะสงคราม พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงบำรุงกำลังรบและปลุกใจ พลเมืองให้รักชาติ ทรงวางระเบียบแบบแผนการทหารแบบยุโรป ทรงจัดตั้งกองทัพอากาศเพิ่มขึ้นอีก กองทัพหนึ่ง ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและกองลูกเสือเพื่อปลุกใจพลเมืองให้รักชาติ นอกจากจะทรงเป็นนักการปกครองที่เล็งเห็นการณ์ไกลแล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในเชิงอักษรศาสตร์ ดังจะเห็นได้ จากพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ทุกชนิดในทุกด้าน เช่น ปลุกใจเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร โคลงสยามานุสติ เป็นต้น รวมเป็นพระราชนิพนธ์เกินกว่า 200 เรื่อง สมดังที่มหาชนชาวไทยถวายพระนามว่า พระมหาธีรราชเจ้า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบว่าราษฎรเบื่อหน่ายการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็โปรดให้สร้างบ้านเมืองจำลองขึ้นเรียกว่า ดุสิตธานี เพื่อเป็นโรงเรียนสอน เสนาบดีและอำมาตย์ราชบริพารให้รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตย ทรงโปรดให้กระทรวงมหาดไทย เตรียมร่างกฎหมายปกครองท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลอย่าง แท้จริง แต่เสนาบดีบางท่านเห็นว่ากฎหมายนี้ให้สิทธิแก่ราษฎรกว้างขวางเกินไป เรื่องจึงค้างพิจารณา จน กระทั่งเสด็จสวรรคต 

                                                            คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king07.jpg
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477)
ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ พระนามทั่วไปเรียกว่า ทูล กระหม่อมเอียดน้อย
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ครั้นเจริญวัยทรงศึกษาวิชาการทหารม้าปืนใหญ่ แห่งกองทัพอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการในกองทัพบกไทย ต่อมาได้ไปศึกษาวิชา ฝ่ายเสนาธิการ ประเทศฝรั่งเศส ทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2460 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี เมื่อ พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งในกองทัพบก ในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และผู้บังคับการพิเศษทหารปืน ใหญ่ที่ 2 ระยะนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมผู้ สืบราชสมบัติต่อ ซึ่งตกแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. 2467 ทรงได้ศึกษาวิชา การปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดิน ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมและหน้าที่ราชการของพระเจ้าแผ่น ดินจากหนังสือราชการที่สำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ได้ตระหนักว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทย เกิดขึ้นอย่างแจ่มชัดมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เพียงแต่ยังมิได้เป็นทางการ เท่านั้น
ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ทรงมีพระราชกรณียกิจสรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลย์อย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน
การศึกษา ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้
การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ด้านการปกครอง ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราช ทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวใน โลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ พระองค์จึงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รวมเวลาครองราชย์ 9 ปี พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา 

                                                           คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king08.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489)
ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี พระองค์ไม่เพียงแต่ทรงพระราชสมภพในต่างประเทศ เท่านั้น หากยังทรงต้องประทับอยู่ต่อมา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนก และพระราชชนนี เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชชนก ประทับทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่ในขณะนั้น ทรงศึกษาวิชาเบื้องต้นในประเทศไทย แล้วเสด็จไปทรงศึกษา ต่อ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ทรงขึ้นครองราชยสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 นั้น คณะรัฐบาลด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร จึงอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์สยามินทราธิราช ขณะทรงมีพระชนมายุ 9 พรรษา โดยมี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระราชกรณียกิจ
ระหว่างประทับทรงศึกษาอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันท มหิดลได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2481 และปี พ.ศ. 2488 ถึงแม้จะทรง เป็นยุวกษัตริย์ แต่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทยได้อย่างดียิ่ง ทรงโปรดที่จะ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง เพื่อทรง เยี่ยมประชาชนชาวจีนและอินเดียในบริเวณนั้น เป็นผลให้ความแตกแยกระหว่างประชาชนชาวไทยและจีน ซึ่งมีขึ้นก่อนหน้านั้นระงับไปได้ด้วยพระปรีชาอันสามารถ
สวรรคต
ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งที่ 2 นั้น โดยมิได้คาดฝันพระองค์เสด็จสวรรคต เพราะถูกพระแสงปืน ณ พระแท่นบรรทมในพระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากเสวยราชสมบัติอยู่เป็น เวลา 12 ปีเท่านั้น

                                                      คำอธิบาย: http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images/chakri/king09.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

ทรงพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสทท์ ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระอนุชาของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ทรงศึกษาวิชาสามัญชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี แล้วเสด็จไปประทับและศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ ในปี พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลนิวัติประเทศไทย ประมาณ 2 เดือน ก็เสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2488 จึง ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล กลับประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ จากนั้นทรงเสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับประเทศไทย พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 และทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จากนั้นทรงเสด็จไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับ พ.ศ. 2494 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยาม มกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
แม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะลดลงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายามปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ใน ด้านต่างๆ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ทรงพยายามช่วยเหลือ โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม พระราช ทานความคิดในการประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก ส่งเสริมการเลี้ยงไหม การประมง ป่าไม้ โครงการ เกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชักชวนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น มาปลูกพืชผลและดอกไม้ ที่จะเป็นประโยชน์กว่า โครงการเกษตรกรรมที่หุบกระพง ประจวบคีรีขันธ์
ทางด้านสังคม เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ อย่างทั่วถึง ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน ทรง ตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน มูลนิธิพัฒนาอนามัย มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา ฯลฯ
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ เช่น พระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
ด้านศาสนา ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณี เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุง ศาสนาทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า และการบำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนาที่ประชาชนนับถือ ด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจากฐานะของพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใตัรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติทรงเป็นประมุข ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการปกครอง ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของประชาชน เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์หรือ ความไม่มั่นใจในชาติ ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยามที่เดือดร้อนที่สุด ประชาชนก็ไปขอ รับพระราชทานความร่มเย็นจากพระองค์ พระองค์ยังทรงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา 

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก

            วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่างๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย 
            โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง

            1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทย มีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
            สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น

2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา

4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น

5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา

6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น

            2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

            ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน 
 ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  “บางกอกรีคอร์เดอร์”  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์ โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา

 5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 9

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            การตั้งถิ่นฐานของชนพื้นเมืองก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ายึดครอง เชื่อกันว่าชาวอินเดียนแดงได้อพยพมาจากทวีปเอเชีย 
            โดยเดินทางข้ามช่องแคบเบริ่ง เร่ร่อนจากทวีปอเมริกาเหนือลงสู่ ทวีปอเมริกาใต้ และมาตั้งหลักแหล่งอย่างมั่นคงบริเวณเทือกเขาแอนดีส 
            มีหลักฐานที่เด่นชัดคือซากเมือง มาชู ปิกชู Machu Piachu ของอาณาจักรอินคา บริเวณประเทศเปรู 
            นับตั้งแต่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานยุคแรกเมื่อ 20,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ดำรงชีพด้วยการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติ ล่าสัตว์ เก็บของป่ากิน 
            จนถึงยุคการปลูกพืชพรรณและเลี้ยงสัตว์ กลายเป็นการวางรากฐานด้านเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ 
            รวมทั้งการก่อตั้งหมุ่บ้านและสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของมนุษย์ในสมัยนั้น 
            เมื่อ 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช ดินแดนอันกว้างใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายชนิด ตามลักษณะภูมิอากาศ เช่น มันฝรั่ง ฮอลลูโก กวีนัว กีวีชา ฟักทอง ฝ้ายพริก ข้าวโพด ฯลฯ
            ในยุคเปรูโบราณ ลามา อัลปาก้า และวิกูญา เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ สัตว์เหล่านี้ให้เส้นใยสำหรับเสื้อผ้าอันอบอุ่น เนื้อสัตว์สำหรับประกอบอาหาร หนังและกระดูกสำหรับทำเครื่องมือต่าง ๆ หยดน้ำมันสำหรับให้ความร้อนและพลังงาน และทำให้ผู้คนขนส่งสินค้าไปในระยะไกล ๆ ได้ 
            เมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตศักราช สัตว์เหล่านี้ทำให้คนสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่เปราะบางที่สุดของเทือกเขาแอนดีส ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 4,200 เมตร 
            ที่ซึ่งยากแก่การทำสวนไร่นาและชีวิตความเป็นอยู่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ไปมา ทำให้เข้าถึงระบบนิเวศวิทยาที่หลากหลาย พร้อมทั้งแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ที่เติมให้สมบูรณ์ 
            ขณะที่วัฒนธรรมภาคพื้นค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกัน เทคนิคใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมา เช่น การทอเส้นใย การทำโลหะผสมและการทำอัญมณี ทำให้วัฒนธรรมระดับสูงเกิดขึ้น เช่น
ชาแวง ( 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
พารากัส ( 700 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
โมช ( 100 ปีหลังคริสตศักราช ),
นาซก้า ( 300 ปีหลังคริสตศักราช ),
วารี ( 600 ปีหลังคริสศักราช ),
ชิมู ( 700 ปีหลังคริสตศักราช ),
ชาชาโปยาส ( 800 ปีหลังคริสตศักราช )
และอาณาจักรอินคา 1,500 ปีหลังคริสตศักราช
            ชาวอินคาบูชาเทพเจ้าแห่งผืนดินปาชามามาและเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์อินติ อำนาจอธิปไตยของชาวอินคาคือ ผู้นำสูงสุดของทาวันทินซูยู (อาณาจักรอินคา) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งซึ่งได้รับตกทอดมาจากอินติ 

            ในยุคที่เฟื่องฟูสูงสุดชาวอินคาได้สร้างงานทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่น่าประทับใจ ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันนี้คือซากเมืองคุชโก เมืองหลวงของอาณาจักรอินคาแห่งนี้และพื้นที่รอบ ๆ เช่น ป้อมซัคเซย์วาแมน และป้อมมาชูปิกชู
            เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส Christopher Columbus ชาวอิตาเลียน เดินทางสำรวจพบทวีปอเมริกา ใน ค.ศ. 1492 แล้ว ชาวยุโรปก็สนใจที่จะแล่นเรือมาทางทิศตะวันตกเพิ่มมากขึ้น 
            ในปี ค.ศ. 1499 นักเดินเรือชาวอิตาลียน ชื่อ อเมริโก เวสปุกชี Americo Vespucci เดินทางสำรวจให้กับสเปน ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งประเทศเวเนสุเอลา ทะเลสาบมาราไคโบ 
            พบเห็นบ้านเรือนของชนพื้นเมืองก่อตั้งอยู่ริมน้ำ คล้ายหมู่บ้านของชาวเวนิส จึงเรียกดินแดนที่เขาพบนี้ว่า เวเนสุเอลา ซึ่งหมายถึง เวนิสน้อย 

            ในปี ค.ศ. 1500 นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร อัลวาเรส คาบรัล Pedro Alvares Cabral ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศบราซิล 
            หลังจากนั้นชาวโปรตุเกสก็เข้ายึดครองทางด้านตะวันออกของทวีป ส่วนสเปนก็เข้าสำรวจทางด้านตะวันตกจากภาคเหนือสู่ภาคใต้ ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่การก่อตั้งอาณานิคมของชาวสเปนหลายแห่ง

            เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1492 โคลัมบัสได้รับการแต่งตั้งจาก พระนางเจ้าอีสเบลลา แห่งสเปน ให้เป็นผู้สำเร็จราชการครอบครองหมู่เกาะอินดิสตะวันตก
ค.ศ. 1519 เฮอร์นาน คอร์เตส Hernan Cortes ได้พิชิตอาณาจักรแอชเต็ก ในเม็กซิโก
            ค.ศ. 1531 ฟรานซีสโก ปิซาโร Francisco Pizarro เข้าสำรวจพบอาณาจักรอินคา และทำสงครามกับชาวอินคา นาน 5 ปีสามารถปราบอาณาจักรอินคาได้
            ค.ศ. 1541 เปโดร เดอ วัลดิเวีย Pedro de Valdivia นำทหารสเปนเข้าครอบครอง ดินแดนชิลีได้สำเร็จ

            ดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ตกเป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ยกเว้น 
กายอานาและฟอร์กแลนด์ เป็นของสหราชอาณาจักร
เฟรนซ์กิอานา เป็นของฝรั่งเศส
สุรินาเม เป็นของเนเธอร์แลนด์

การประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้

            ด้วยเหตุที่อาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือได้ประกาศเอกราช ตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา 
            จึงเป็นตัวอย่างที่ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ต้องการเอกราช โดยเริ่มจากชาวอาณานิคมในเมืองคารากัส ได้ก่อการกบฏขึ้นในปี ค.ศ. 1810 ขับไล่แม่ทัพของสเปน ออกไป และตั้งคณะกรรมการขึ้นปกครองตนเอง 
            โดยมีผู้นำในอาณานิคมหลายคน ที่ต้องการปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ให้เป็นอิสระ เช่น
            ในปี ค.ศ. 1818 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน Jose de San Martin เป็นผู้นำในการปลดปล่อย ในอาร์เจนตินาและชิลี ให้เป็นเอกราช
            ในปี ค.ศ. 1821 ซิมอน โบลิวาร์ Simon Bolivar เป็นผู้นำในการปลดปล่อย เอกวาดอร์ และเวเนสุเอลา ได้สำเร็จ
            ในปี ค.ศ. 1822 โอรสของกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ก็ประกาศบราซิลให้เป็นเอกราช โดยมีพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ ค.ศ. 1889 ทหารเข้ายึดอำนาจล้มระบอบกษัตริย์เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ

กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 8

ทวีปอเมริกาเหนือ 

            เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกา ตามลำดับ 
            ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศ โดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน 
            ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 3 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ประเทศเม็กซิโก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ 
            ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 21 ประเทศ 
            โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ 
            สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง 
            ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา 
            อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวเมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ได้รับอาสาพระนางอิสเบลลา แห่งสเปน เดินเรือสำรวจมหาสมุทรแอตแลนติก 
            เพื่อค้นหาเส้นทางไปยังทวีปเอเชีย เขาเดินทางมาพบทวีปอเมริกาเหนือ ในปี พ.ศ.2035 และเดินทางมาสำรวจอีก 3 ครั้ง ในเวลาต่อมา
            โดยเข้าใจว่า ดินแดนที่พบนี้คือทวีปเอเชีย ต่อมา อเมริโก เวสปุคชี ชาวเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ได้เดินทางมายังดินแดนนี้ตามเส้นทางของโคลัมบัส เพื่อสำรวจให้กับสเปนและโปรตุเกส รวม 4 ครั้ง 
            ในปี พุทธศักราช 2040, 2042, 2044 และ 2046 รายงานของเขาถูกตีพิมพ์เผยแพร่ ทำให้ชาวยุโรปทราบเรื่องราวทวีปใหม่ดีขึ้น และตั้งชื่อทวีปใหม่ว่า “อเมริกา” เพื่อเป็นเกียรติแก่ อเมริโก เวสปุคชี 
            พวกที่เดินทางสู่อเมริกา โดยเรือขนาดเล็ก ต่างเบียดเสียดกันอย่างแสนสาหัส ตลอดเวลาการเดินทาง 16 สัปดาห์ 
            ยังชีพด้วยการแบ่งปันส่วนอาหาร หลายครั้งที่ถูกพายุพัดเสียหาย ผู้คนล้มป่วยและตายลงเป็นจำนวนมาก เด็กทารกนั้นยากนักที่จะมีชีวิตรอดได้
            ภาพแผ่นดินใหม ่ที่ชาวอาณานิคมได้เห็นคือ ภาพป่าทืบอุดมสมบูรณ์ ด้วยพันธุ์ไม้ อันหมายถึงว่า จะมีฟืน ไม้สำหรับต่อเรือ ปลูกบ้าน ทำสีย้อมผ้า ตลอดจนเครื่องใช้ ต่างๆ อย่างพร้อมสรรพ 
            ดินแดนที่ถูกค้นพบใหม่ ได้มีการแย่งชิงกันหลายชาติ ชาวสเปนครอบครองอาณานิคมในเขตอเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก อังกฤษสามารถก่อตั้งอาณานิคมบริเวณรอบๆ อ่าวฮัดสัน และชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
            ส่วนตอนกลางของอ่าวเม็กซิโกขึ้นไป ตลอดลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทะเลสาบทั้ง 5 และชายฝั่งตะวันออกของแคนาดา เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
            มูลเหตุที่ชักจูงให้ผู้คนอพยพมาสู่ทวีปอเมริกา คือความปรารถนาในการสร้างฐานะ ความอยากที่จะเผชิญโชค ความใฝ่ฝันที่จะมีเสรีภาพทางการเมืองและการนับถือศาสนา
            ต่อมาอังกฤษทำสงครามกับฝรั่งเศสในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จึงต้องเสียอาณานิคมในอเมริกาให้กับอังกฤษ ทำให้อาณานิคมของอังกฤษขยายออกไป พร้อมกับการขยายตัวทางวัฒนธรรมเป็นเงาตามตัว
            ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับชาวอาณานิคมได้เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายการคลังของอังกฤษเรียกเก็บภาษีในรูปแบบต่าง ๆ จากชาวอาณานิคม 
            เช่น พ.ร.บ. น้ำตาล พ.ศ.2307 ให้เก็บสินค้าน้ำตาลที่ไม่ได้ส่งมาจาก อังกฤษ พ.ร.บ. แสตมป์ พ..ศ. 2308 ให้ปิดแสตมป์สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ภาษีที่รัฐบาลอังกฤษเรียกเก็บสูงขึ้นเรื่อยๆ 
            จนชาวอาณานิคมเกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม และแล้ว ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2316 ณ เมืองบอสตัน 
            ชาวอาณานิคม กลุ่มหนึ่งได้ปลอมตัวเป็นชาวอินเดียนแดงลงไปในเรือบรรทุกสินค้าของอังกฤษ แล้วขนหีบหอใบชาโยนทิ้งทะเล เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “บอสตัน ที ปาร์ตี” 
            ได้กลายเป็นชนวนที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน ของชาวอาณานิคม ต่อต้านรัฐบาลอังกฤษอย่างจริงจัง สงครามการต่อต้านรัฐบาลอังกฤษได้ยืดเยื้อนานถึง 6 ปี 
            มีการสู้รบเกิดขึ้นทุกแห่ง โดยมี ยอร์ช วอชิงตัน เป็นแม่ทัพและแล้วในวันที่ 4 กรกฏาคม พ..ศ. 2319 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสรภาพ ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย
            โดยโทมัส เจฟเฟอสัน เป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพ ไม่เพียงแต่เกิดชาติใหม่เท่านั้น แต่เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึง ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ 
            ในระยะแรกมีเพียง 13 รัฐเท่านั้น ที่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ที่รวมกันเข้าเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา 
            หลังจากนั้นก็ขยายอาณาเขตมุ่งสู่ทิศตะวันตก ซึ่งก็ต้องประสบกับ การต่อต้านจากพวกอินเดียนแดงเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นชนพื้นเมืองดั่งเดิมอย่างมาก 
    
            การขยายตัวของสหรัฐอเมริกาไปทางทิศตะวันตก ในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้คือ
            1. โดยการบุกเบิกจับจองที่ดินว่างเปล่า
            2. โดยการซื้อ
2.1 รัฐหลุยเซียนา ซื้อจากฝรั่งเศส 15 ล้านดอลลาร์
2.2 รัฐฟลอริดา ซื้อจากสเปน 5 ล้านดอลลาร์
2.3 แคลิฟอร์เนีย ซื้อจากเม็กซิโก 10 ล้านดอลลาร์
2.4 อลาสก้า ซื้อจากรัสเซีย 7.2 ล้านดอลลาร์
            3 . โดยการผนวกดินแดนคือรัฐฮาวายและเท็กซัส
            4 . โดยการทำสงครามได้แคลิฟอร์เนียและนิวเม็กซิโกจากการรบชนะเม็กซิโก

            หลังจากสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเอกราช ไม่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้ว แคนาดาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษเหมือนกัน แต่อยู่ใกล้กับสหรัฐอเมริกา 
            ทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องอะลุ่มออล่วยให้แคนาดาบ้าง ต่อมาภายหลังได้ให้แคนาดาปกครองตนเอง โดยมีฐานะที่เรียกว่า“ดอมิเนียนแห่งแคนาดา”
            หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว แคนาดาจึงได้รับเอกราช แต่เนื่องจากชาวอาณานิคมในแคนาดา มีความผูกพันกับอังกฤษ รัฐบาลของแคนาดาจึงขออยู่ภายใต้ระบบที่เรียกว่า “ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ” commonwealth
            จะเห็นได้ว่าประเทศในกลุ่มแองโกลอเมริกา ได้สร้างชาติของตนให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาไม่นานนัก ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 
            แม้จะพยายามสร้างเอกลักษณ์ของตนขึ้นมาเพียงใด ก็ยังคงมีสายใยของความผูกพัน กับประเทศในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ 
            ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่มีร่วมกันเป็นระยะเวลานาน

กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

ทวีปยุโรป

            ทวีปยุโรป เป็นทวีปที่อยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกับทวีปเอเชีย มีลักษณะคล้ายกับเป็นคาบสมุทรใหญ่ของทวีปเอเชีย 
            จึงมีผู้เรียกทวีปยุโรป และเอเชียรวมกันว่า “ยูเรเซีย” พรมแดนธรรมชาติที่ใช้เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรปกับทวีเอเชียออกจากกัน คือ แนว เทือกเขาอูราลและแม่น้ำอูราล

ที่ตั้ง

            ทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่างละติจูดประมาณ 36 องศาเหนือ ถึง 71 องศาเหนือ และลองจิจูดประมาณ 9 องศาตะวันตก ถึง ลองจิจูดประมาณ 66 องศาตะวันออก กล่าวคือ ทวีปยุโรป มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่เหนือเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (ละติจูดที่ 23 ½ องศาเหนือ) ซึ่งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่นเหนือเกือบทั้งหมดยกเว้นตอนเหนือสุดของทวีปเท่านั้นที่อยู่ในเขตอากาศหนาวเหนือ

ขนาด

            ทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 6 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา แต่ใหญ่กว่าออสเตรเลีย

อาณาเขตติดต่อ มีดังนี้

            ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก และมีทะลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลขาว ทะเลแบเรนต์ส น่านน้ำเหล่านี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อย มาก เพราะในฤดูหนาวจะปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ใช้เดินเรือไม่ได้ คาบสมุทรสำคัญด้านนี้ ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรจัตแลนด์

            ทิศตะวันออก ติดต่อเป็นผืนแผ่นดนเดียวกันกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล และทะเลสาบแคสเปียนเป็นแนวพรมแดน 

            ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลนอร์วิเจียน ทะเลเหนือ ทะเลไอริช และทะเลบอลติก เกาะ สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ เกาะบริเตนใหญ่ เกาะไอร์แลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์

            ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะความเว้าแหว่งของชายฝั่งทะเลมีมากนั่นเอง 
            และยังทำให้มีคาบสมุทรหลายแห่ง ได้แก่ 
  1. คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์และสวีเดิน คาบสมุทรจัดแลนด์เป็นที่ตั้งของประเทศเดนมาร์ก 
  2. คาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่ตั้งของประเทศสเปนและโปรตุเกส 
  3. คาบสมุทรอิตาลี เป็นที่ตั้งของประเทศอิตาลี 
  4. คาบสมุทรบอลข่าน เป็นที่ตั้งของประเทศอดีตยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย โรมาเนีย บัลแกเรีย แอลกรีซ (สาธารณรัฐเฮเลนิก) 
  5. คาบสมุทรไครเมียในประเทศยูเครน

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป

            ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติศาสตร์ความเจริญต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า 2000 ปี มาแล้ว
            มีหลักฐานปรากฎอย่างชัดเจนว่า ความเจริญของทวีปยุโรปทีราก ฐาน กำเนิดจากอารายธรรมไมโนน (Minoan Civilization) 
            ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะครีต(Crete)ตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านในทะลเมดิเตอร์เรเนียน 
            อารยธรรมไมโนนเป็นอารยธรรม ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างอารยธรรมโบราณ 2 แห่ง คือ 
            อารยธรรมอียิปต์ (ลุ่มแม่น้ำไนล์) 
            อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส) 
            จนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังดินแดนต่างๆ ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 
            โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่านและคาบสมุทรอิตาลี จึงนับว่าชนชาติกรีกและชนชาติโรมัน มีส่วนสำคัญที่สุดในการวางรากฐานความเจริญในยุโรป
            ชนชาติกรีกเป็นพวกอินโดยูโรเปียนมีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบแม่น้ำดานูบ ในเขตประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน เมื่อประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสต์กาล 
            กรีกเป็นชนชาติแรกที่ได้รับถ่ายทอดความเจริญ ของอารยธรรมไมโนน ไปจากเกาะครีต 
            และหลังจากนั้นชนชาติโรมันซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณคาบสมุทรอิตาลี ก็ได้รับความเจริญไปจากชนชาติกรีกอีกทอดหนึ่ง 
            กรีกได้ทิ้งมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอันมีค่าหลายประการไว้แก่โลกตะวันตก เพราะกรีกเป็นนักคิดและนักสร้างสรรค์ ที่สำคัญ
            ผลงานที่เด่นๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ปรัชญา 
            และที่สำคัญที่สุด คือ การปกครองระบอบประชาธิบไตย ที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แก่ประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน 
            ส่วน ชนชาติโรมัน นั้น แม้ว่าจะรับความเจริญต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรมมาจากกรีก แต่ก็รู้จักที่จะนำมาประยุกต์ดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ทางด้านการใช้สอยให้คุ้มค่า 
            โดยเฉพาะการวางผังเมืองการวางท่อลำเลียงน้ำ ที่อาบน้ำสาธารณะ ผลงานทางศิลปะต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ กฎหมายโรมัน ซึ่งเป็นรากฐานของการร่างกฎหมายประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 
            โรมันเป็นชนชาติที่มีความสามารถกล้าหาญ ได้ขยายอำนาจครอบครองดินแดนกรีก และดินแดนของชนชาติอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง 
            จนทำให้อาณาจักรโรมัน กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมีอาณา เขต ครอบคลุมเกือบทั่วภาคพื้นทวีปยุโรป 
            โดยมีอาณาเขต ตั้งแต่ตะวันตกของทวีปยุโรป คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน ดินแดนชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตลอดไปจนถึงบริเวณตอนเหนือของทวีปแอฟริกา 
            จักรวรรดิโรมัน เป็นศูนย์กลางความเจริญ ของทวีปยุโรปอยู่ประมาณ 300 ปี ภายหลังที่มีการแบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็น
            จักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยมีเมืองหลวงอยู่ทีกรุงโรม
            และจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 แล้ว 

            จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้เริ่มเสื่อมลงตามลำดับ และในที่สุดได้ถูกพวกอนารยชนเยอรมัน เผ่าติวตันเข้ารุกรานและยึดครองใน ค.ศ.476 
            ซึ่งมีผลทำให้ความเจริญต่าง ๆ ทางศิลปวัฒนธรรมหยุดชะงักลง สภาพทางสังคมของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ภายหลังการุกรานของอนารยชน เต็มไปด้วยความวุ่นวาย สับสน 
            บ้านเมืองระส่ำระสายไปทั่ว มีศึกสงครามติดต่อกันเกือบตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการของกรีก-โรมัน ต้องหยุดชะงักลง 
            และทำให้ทวีปยุโรปตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า ยุคมืด Dark Ages ซึ่งอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-10 
            ในระหว่างนั้นคริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป 
            เพราะเป็นระยะเวลาที่ประชาชน กำลังแสวงหาที่พึ่งทางใจ วัดและสันตะปาปา คือศูนย์รวมแห่งจิตใจของประชาชน คริสต์ศาสนาจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะนั้น
            อิทธิพลทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ชาวตะวันตกต่างพากันยอมรับ ในความยิ่งใหญ่ ่และอำนาจของพระเจ้า ในการดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้น 
            จนทำให้เกิดความกลัวที่จะคิดหรือกระทำการใดๆ ที่นอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ที่ทางศาสนาได้กำหนดไว้
            อย่างไรก็ตามในระยะคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมของยุโรป ไปในทางที่ดี คือ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ เรอเนสซองส์ Renaissance 
            ซึ่งทำให้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการกรีก-โรมัน ที่หยุดชะงักไปตั้งแต่ยุคมืดขึ้นมาใหม่ 
            และยังส่งผลต่อเนื่องไปสู่การริเริ่มแนวคิด เริ่มมองทุกอย่างในลักษณะของเหตุผล รู้จักใช้สติปัญญาตน พิจารณาแทนความเชื่องมงายอย่างไร้เหตุผล ดังที่เคยปฏิบัติมาในยุคมืด 
            เริ่มมีความคิดว่ามนุษย์สามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ สามารถปรับปรุง ทุกอย่างให้ดีขึ้นได้ด้วยความสามารถตนเอง
            สมัยเรอเนสซองส์จึงเป็นสมัยที่ก้าวไปสู่ความเจริญอย่างไม่หยุดยั้งของโลกตะวันตกในระยะต่อมา 
            ซึ่งขณะนั้นศูนย์กลางความเจริญของทวีปยุโรป ได้ย้ายมาอยู่ ในบริเวณประเทศต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในบริเวณยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เป็นต้น 
            นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ทวีปยุโรปจึงก้าวเข้าสู่สภาพสังคมแบบสมัยใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นการพัฒนา ในด้านความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ 
            อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวยุโรป เป็นอย่างมาก อาทิ การปฏิวัติศาสนาที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 
            โดยนักบวชชาวเยอรมนี มาร์ติน ลูเธอร์ Martin Luthur ค.ศ.1483-1546 ทำให้มีการก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งแสดงให้เห็นความกล้าหาญ ในการแสดงออก
            ซึ่งการต่อต้านคัดค้านนิกายดั้งเดิม คือ โรมันคาทอลิก ที่เคยมีอิทธิพลอย่างมากมาก่อน 
            นอกจากนี้ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีผลทำให้มนุษย์เริ่มค้นคว้าหาความจริงจากธรรมชาติ 
            มีการพิสูจน์ว่าโลกกลม ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล ซึ่งมีผลต่อการริเริ่มสำรวจทางทะเล และการแสวงหาอาณานิคมกันอย่างกว้างขวางในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 
            และทำให้วัฒนธรรมตะวันตกได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอาณานิคมต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ 
            รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นระยะที่อิทธิพลของยุโรป ทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้แผ่ขยายตัวไปทั่วโลก

            การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มต้นจากประเทศอังกฤษก่อน และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก 
            ก็นับว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ที่นำไปสู่ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง 
            และส่งผลกระทบทำให้ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่นำหน้าทวีปอื่นๆ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน

ดอริก
ไอโอนิก
โครินเธียน
ศิลปะโกธิค (Gothic)
หัวเสาเป็นอารยธรรมของกรีกโบราณ 3 แบบ

ศิลปะโกธิค
เริ่มต้นขึ้นปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปี
วิหารพาร์เธนอน(parthenon)
โคลอสเซียม(Colosseum)